วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความสำคัญของการเรียนรู้

ความสำคัญของการการเรียนรู้

     เปี่ยมพงศ์ นุ้ยบ้านด่าน (http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm)
     ได้กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิต อยู่ในโลกนี้ได้สิ่งมีชีวิตใดก็ตามที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น ไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อนับล้านปีที่แล้วเป็นต้นหากเราจะเปรียบเทียบองค์การหนึ่ง ๆ ที่กำลังดำเนินกิจการอยู่เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิต อยู่ท่ามกลางกระแสแห่งโลกาภิวัฒน์ (Globalization) องค์การใดที่มีการเรียนรู้มีการปรับตัวที่ดีก็สามารถดำรงอยู่ได้

     พงษ์พันธุ์  พงษ์โสภา (2542:79) ได้กล่าวไว้ว่า
     การเรียนรู้ (Learning) เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิต การเรียนรู้จะช่วยให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตหรือสามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเราได้แวดล้อมให้เข้ากับตัวเราได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น คนเราจึงต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอและเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้เอง นักจิตวิทยา ครู อาจารย์ ตลอดถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงของการศึกษา จึงให้ความสนใจเรื่องของการเรียนรู้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะชีวิตความเป็นอยู่ และการประพฤติของคนเราจะเป็นไปในรูปแบบใด ย่อมขึ้นอยู่กับการเรียนรู้เป็นสำคัญ

     วารินทร์ สายโอบเอื้อ (2529:41-42) ได้กล่าวไว้ว่า
     การเรียนรู้มีความสำคัญยิ่งต่อพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์ โดยเฉพาะคนเราเกิดมาจะต้องพบกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตลอดชีวิตของคนเรานั้นมีการเรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย เช่น เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาเวลาหิว เวลาหนาว เวลาเจ็บป่วย เรียนรู้นิสัยต่างๆในการดำรงชีวิต เรียนรู้ในการที่จะติดต่อกับบุคคลอื่น การทำงนร่วมกับคนอื่น เรียนรู้ในห้องเรียน เรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันของสามีภรรยา เรียนรู้วิธีทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ  ตลอดจนเรียนรู้วิธีปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ สรุปได้ 3 ด้าน คือ
1. การเปลี่ยนแปลงด้านความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ได้แก่ การมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เพิ่มขึ้นจากเดิม และกว้างขวางขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ความรู้สึก ทัศนคติหรือค่านิยมต่างๆ เป็นต้น
3. การเปลี่ยนแปลงด้านการกระทำ หรือด้านการปฏิบัติ เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมภายนอก อาจเรียกว่าทักษะ ได้แก่ การกระทำที่คล่องแคล่ว รวดเร็วขึ้น ชำนาญขึ้น ถูกต้องมากยิ่งขึ้น


สรุป
     การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิต การเรียนรู้จะช่วยให้เราสามารถดำรงชีวิตให้เข้าสิ่งแวดล้อมและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในได้อย่างเหมาะสม


ที่มา
     เปี่ยมพงศ์ นุ้ยบ้านด่าน. [online] http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm. องค์การแห่งการเรียนรู้ .เข้าถึงเมื่อ 23/06/2558.

     พงษ์พันธุ์  พงษ์โสภา. (2542). จิตวิทยาการศึกษากรุงเทพมหานคร : พัฒนาการศึกษา.

     วารินทร์ สายโอบเอื้อ. (2529). จิตวิทยาการศึกษากรุงเทพมหานคร : สยามยูเนี่ยน พริ้นติ้ง.

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายของการเรียนรู้

ความหมายของการเรียนรู้

        https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3% E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99
ได้รวบรวมความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า
        การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ และอาจเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารสนเทศชนิดต่าง ๆ ผู้ประมวลทักษะของการเรียนรู้เป็นได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ และเครื่องจักรบางชนิด ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเวลามีแนวโน้มเป็นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (learning curve)
การเรียนรู้ของมนุษย์อาจเกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของการศึกษา การพัฒนาส่วนบุคคล การเรียนการสอน หรือการฝึกฝน การเรียนรู้อาจมีการยึดเป้าหมายและอาจมีความจูงใจเป็นตัวช่วย การศึกษาว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไรเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาประสาทจิตวิทยา (neuropsychology) จิตวิทยาการศึกษา (educational psychology) ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) และศึกษาศาสตร์ (pedagogy) การเรียนรู้อาจทำให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ (habituation) หรือการวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม (classical conditioning) ซึ่งพบในสัตว์หลายชนิด หรือทำให้เกิดกิจกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้นอย่างเช่นการเล่น ซึ่งพบได้เฉพาะในสัตว์ที่มีเชาวน์ปัญญา  การเรียนรู้อาจก่อให้เกิดความตระหนักอย่างมีสำนึกหรือไม่มีสำนึกก็ได้


         http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Process.htm#ixzz3dCzT6nDi 
ได้รวบรวมความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า
        การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ตลอดชีวิต คำจำกัดความที่นักจิตวิทยา มักจะกล่าวอ้างอยู่เสมอ แต่ยังไม่ถึงกับเป็นที่ยอมรับ กันอย่างสากล คือ คำจำกัดความของ 
คิมเบิล (Gregory A Kimble) 
คิมเบิล กล่าวว่า "การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงศักยภาพแห่งพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร
ซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกหรือการปฏิบัติที่ได้รับ การเสริมแรง(Learning as arelatively permanent
change in behavioral potentiality that occurs as a result of reinforced practice) " 
จากความหมายของการเรียนรู้ข้างต้นแยกกล่าวเป็นประเด็นสำคัญได้ 
เคยไหมสะกดคำว่ารัก คำว่าภักดี คำว่าซื่อตรงเคยไหมรักใครสักคน ด้วยหัวใจในช่วงสั้น หรือเพียงชั่วครู่ และในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่พฤติกรรมที่คงที่ที่ไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป
    ๓ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าว ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปอย่างทันทีทันใด แต่มันอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงศักยภาพ (Potential) ที่จะกระทำ สิ่งต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต การเปลี่ยนแปลง ศักยภาพนี้อาจแฝงอยู่ในตัวผู้เรียน ซึ่งอาจจะยังไม่ได้แสดงออกมา เป็นพฤติกรรมอย่าง ทันทีทันใดก็ได้
    ๔ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือการเปลี่ยนแปลงศักยภาพในตัวผู้เรียนนั้นจะเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือศักยภาพอันเนื่องมาจากสาเหตุอื่นไม่ถือเป็นการเรียนรู้
    ๕ ประสบการณ์หรือการฝึกต้องเป็นการฝึกหรือปฏิบัติที่ได้รับการเสริมแรง (Reinforced practice) หมายความว่า เพียงแต่ผู้เรียนได้ รับรางวัลหลังจากที่ตอบสนอง ก็จะให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในแง่นี้คำว่า "รางวัล" กับ "ตัวเสริมแรง" (Reinforce) จะให้ความหมายเดียวกัน ต่างก็คือหมายถึงอะไรบางอย่างที่อินทรีย์ (บุคคล) ต้องการ


        เสรี วงษ์มณฑา (https://www.facebook.com/seri.wongmonta/posts/592724210766056
ได้กล่าวหมายบทการเรียนรู้ไว้ว่า
        การเรียนรู้ (learning) คือการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมี 3 ด้านคือ 
1 ด้านสมอง (cognitive change) คือไม่รู้ได้รู้ ไม่เข้าใจได้เข้าใจ ไม่ตระหนักได้ตระหนัก
2. ด้านความรู้สึก (affective change) คือไม่ชอบเป็นชอบ ชอบน้อยเป็นชอบมาก ชอบเป็นไม่ชอบ เกลียดน้อยเป็นเกลียดมาก
3. ด้านพฤติกรรม (conative change) คือทำไม่เป็นกลายเป็นทำเป็น ทำไม่เก่งเป็นทำเก่ง ไม่เคยทำหันมาทำ เคยทำอยู่แล้วเลิกทำ เคยนานๆทำทีกลายเป็นทำบ่อยๆ
ถ้าคนเราอ่านหรือฟังแล้วรู้มากขึ้น เข้าใจมากขึ้นก็แสดงว่ามีการเรียนรู้  ถ้าคนเราชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไรอย่างไม่ถูกต้องหรือพูดง่ายๆว่ามีทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง เมื่อได้ยินได้ฟังข้อมูลเพิ่มเติมก็แสดงว่ามีการเรียนรู้  คนเราทำอะไรไม่ถูกต้องหรือทำสิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่อได้ยินได้ฟังคนที่เขาเห็นข้อบกพร่องชี้แจงแนะนำ แล้วรู้จักเปลี่ยนการกระทำก็แสดงว่ามีการเรียนรู้  แต่ถ้าคนเราได้ยินได้ฟังแล้วความรู้ความเข้าใจไม่มีการพัฒนา รู้เท่าเดิม เข้าใจเท่าเดิม ก็แสดงว่าไม่มีการเรียนรู้  คนเรารักใครชังใคร ชอบอะไรไม่ชอบอะไร อย่างไม่ถูกต้อง มีทัศนคติที่ไม่ถูก
ถ้าได้ยินได้ฟังคำอธิบายแล้วก็ยังจะยืนยันทัศนคติเดิม ไม่ยอมเปลี่ยนทัศนคติ ก็แสดงว่าไม่มีการเรียนรู้  คนเราทำผิดแล้วมีคนชี้ให้เห็นข้อบกพร่อง แต่ก็ยังไม่ยอมเปลี่ยนการกระทำ ยังคงทำผิดอย่างที่เคยก็แสดงว่าไม่มีการเรียนรู้
        คนเราจะเรียนรู้ได้จะต้องผ่านขั้นตอนดังต่อไปนี้
1 sensitive. เปิดหูเปิดตาที่จะรับข้อมูลใหม่ๆเข้ามา
2. Perceptive ต้องเกิดความคำนึงว่าบางสิ่งบางอย่างมีปัญหาหรือไม่ถูกต้อง
3. Inquisitive ต้องการถามไถ่ใฝ่หาข้อมูลเพื่อนำเอามาเป็นแนวทางที่จะแก้ปัญหา
4. Cognitive ได้รับความรู้จากข้อมูลที่ไปหามา มีการเปลี่ยนแปลงทางสมอง
5. Comparative นำเอาหนทางในการปรับแก้มาพิจารณาอย่างถี่ถ้วน
6. Affective เกิดความรู้สึกชื่นชอบทางเลือกทางใดทางหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางทัศนคติ
7. Decisive พร้อมที่จะตัดสินใจเลือกทางที่คิดว่าดีที่สุด
8. Active เกิดการเปลี่ยนแปลงในการกระทำที่อยู่บนพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงทางสมองและทางความรู้สึก
9. Evaluative เมื่อทำไปแล้วก็มานั่งประเมินการทำงานของตนตามหลักวิมังสาคือการใคร่ครวญการกระทำของตนเอง
10. Adaptive หลังจากการประเมินแล้วมีอะไรต้องปรับเปลี่ยนก็ปรับ เพื่อไม่ให้ผิดพลาดต่อเนื่องหรือซ้ำซาก
         ทุกวันนี้คนที่ไม่เรียนรู้อะไรเพราะไม่เปิดหูเปิดตารับฟังข้อมูล ขาด sensitive  บางคนเปิดหูเปิดตาฟังโน่นดูนี่ แต่ไม่เคยเกิดความรู้สึกว่ามีปัญหาต้องแก้ไข ขาด perceptive  บางคนรู้ว่ามีปัญหาแต่ไม่สนใจที่จะแก้ไข จึงไม่อยากรู้อะไรเพิ่มเติม ขาด inquisitive  บางคนฟังมาดูมา ไม่ยอมเปิดใจที่จะเข้าใจหรือยอมรับอะไรใหม่ๆก็ไม่มี cognitive change  บางคนแม้จะรู้ข้อมูลมาก็ไม่เคยมองหลายด้าน ไม่เอาสิ่งที่ขัดแย้งมาเทียบเคียงหาจุดดีจุดด้อยของแต่ละทางเลือก เพราะยังฝังใจกับสิ่งเดิม ขาด comparative  บางคนเทียบแล้ว แต่ด้วยอคติ ไม่เปิดใจกว้าง ก็จะยังมีทัศนคติเดิมๆที่รักก็ยังรัก ที่ชังก็ยังชัง ไม่มี affective change  ในที่สุดก็ไม่ตัดสินใจที่จะทำอะไรใหม่ๆ เป็นdecisive. ที่อาจจะไม่ให้โอกาสตัวเอง เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ไม่มี active change   เลยอยู่แบบเก่าๆเดิมๆ รู้เดิมๆรู้สึกเดิมๆ ทำตัวเดิมๆ ไม่คิดประเมินตัวเองด้วย ขาด evaluative. สุดท้ายก็ไม่มีการปรับตัวตามที่ควรจะปรับ ไม่มี adaptive.
ทั้งหมดนี้สะท้อนว่ากระบวนการการเรียนรู้ไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นก็ไม่ครบขั้นตอน จมปลักอยู่กับความรู้ที่ไม่ถูกต้อง ทัศนคติที่ไม่ถูกต้อง การกระทำก็เลยไม่ถูกต้องไปด้วยการปิดกั้นตัวเองไม่เปิดรับข้อมูลใหม่ๆ ทำให้คนเราไม่มีการเปลี่ยนแปลง ก็หมายถึงการไม่ได้เรียนรู้ แล้วเราจะพัฒนาตนเองได้อย่างไร
เกิดเป็นมนุษย์ต้องไม่หยุดพัฒนาเพราะมนุษย์ที่หยุดพัฒนาจะไร้ค่าความเป็นคน วันนี้เราต้องดีกว่าวันวาน วันพรุ่งนี้เราต้องดีกว่าวันนี้ โดยจะต้องมีความรู้ที่ถูกต้องมากขึ้น มีทัศนคติที่ถูกต้องมากขึ้น และมีการกระทำที่ถูกต้องมากขึ้น  ปิดหูปิดตาไม่ยอมรับข้อมูลใหม่ๆ จะทำให้ดัดดาน ชีวิตไม่มีอะไรดีขึ้น ก็คือไม่มีการเรียนรู้นั้นเอง
การเรียนรู้เกิดได้ทุกที่ทุกเวลาทุกรูปแบบ แค่เปิดหูเปิดตาและอย่าลืมเปิดใจให้กว้างอย่างไร้อคติ ก็จะได้พบข้อมูลใหม่ที่ทำให้การตัดสินใจด้านทัศนคติและการกระทำของเราดีขึ้น

สรุปความหมายของการเรียนรู้
       การเรียนรู้ หมายถึง การที่ได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงพอใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรังปรุงสิ่งที่มีอยู่ และอาจเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารสนเทศชนิดต่างๆผู้ประมวลทักษะของการเรียนรู้เป็นได้ทั้งมนุษย์ สัตว์ และเครื่องจักรบางชนิด ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเวลามีแนวโน้มเป็นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ตลอดชีวิต โดยคิมเบิลได้กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงศักยภาพแห่งพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรซึ่งเป็นผลจาการฝึกหรือปฏิบัติที่ได้รับจากการเสริมแรง ซึ่งการเรียนรู้จะมีการเปลี่ยนแปลง3ด้าน ได้แก่ ด้านสมอง ด้านความรู้สึก และด้านพฤติกรรม

ที่มา 
      https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0% B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99การเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อเมื่อ 16/06/2558.

      http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Process.htm#ixzz3dCzT6nDiการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 16/06/2558.

     เสรี วงมณฑา. [Online] https://www.facebook.com/seri.wongmonta/posts/592724210766056การเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 16/06/2558.