ความสำคัญของการการเรียนรู้
เปี่ยมพงศ์ นุ้ยบ้านด่าน
(http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm)
ได้กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิต อยู่ในโลกนี้ได้สิ่งมีชีวิตใดก็ตามที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น ไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อนับล้านปีที่แล้วเป็นต้นหากเราจะเปรียบเทียบองค์การหนึ่ง ๆ ที่กำลังดำเนินกิจการอยู่เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิต อยู่ท่ามกลางกระแสแห่งโลกาภิวัฒน์ (Globalization) องค์การใดที่มีการเรียนรู้มีการปรับตัวที่ดีก็สามารถดำรงอยู่ได้
ได้กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิต อยู่ในโลกนี้ได้สิ่งมีชีวิตใดก็ตามที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมก็จะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เช่น ไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อนับล้านปีที่แล้วเป็นต้นหากเราจะเปรียบเทียบองค์การหนึ่ง ๆ ที่กำลังดำเนินกิจการอยู่เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิต อยู่ท่ามกลางกระแสแห่งโลกาภิวัฒน์ (Globalization) องค์การใดที่มีการเรียนรู้มีการปรับตัวที่ดีก็สามารถดำรงอยู่ได้
พงษ์พันธุ์ พงษ์โสภา (2542:79) ได้กล่าวไว้ว่า
การเรียนรู้ (Learning) เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิต
การเรียนรู้จะช่วยให้คนเราสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตหรือสามารถปรับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเราได้แวดล้อมให้เข้ากับตัวเราได้อย่างเหมาะสม
ดังนั้น คนเราจึงต้องมีการเรียนรู้อยู่เสมอและเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ด้วยเหตุนี้เอง นักจิตวิทยา ครู อาจารย์
ตลอดถึงผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงของการศึกษา
จึงให้ความสนใจเรื่องของการเรียนรู้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะชีวิตความเป็นอยู่
และการประพฤติของคนเราจะเป็นไปในรูปแบบใด ย่อมขึ้นอยู่กับการเรียนรู้เป็นสำคัญ
วารินทร์ สายโอบเอื้อ (2529:41-42) ได้กล่าวไว้ว่า
การเรียนรู้มีความสำคัญยิ่งต่อพฤติกรรมของมนุษย์และสัตว์
โดยเฉพาะคนเราเกิดมาจะต้องพบกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ตลอดชีวิตของคนเรานั้นมีการเรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย เช่น เรียนรู้วิธีแก้ปัญหาเวลาหิว
เวลาหนาว เวลาเจ็บป่วย เรียนรู้นิสัยต่างๆในการดำรงชีวิต
เรียนรู้ในการที่จะติดต่อกับบุคคลอื่น การทำงนร่วมกับคนอื่น เรียนรู้ในห้องเรียน
เรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันของสามีภรรยา เรียนรู้วิธีทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเรียนรู้วิธีปฏิบัติเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ สรุปได้ 3 ด้าน คือ
1. การเปลี่ยนแปลงด้านความคิด ความรู้ ความเข้าใจ
ได้แก่ การมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เพิ่มขึ้นจากเดิม และกว้างขวางขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ
เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ความรู้สึก ทัศนคติหรือค่านิยมต่างๆ เป็นต้น
3. การเปลี่ยนแปลงด้านการกระทำ หรือด้านการปฏิบัติ
เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมภายนอก อาจเรียกว่าทักษะ ได้แก่ การกระทำที่คล่องแคล่ว
รวดเร็วขึ้น ชำนาญขึ้น ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
สรุป
การเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิต
การเรียนรู้จะช่วยให้เราสามารถดำรงชีวิตให้เข้าสิ่งแวดล้อมและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในได้อย่างเหมาะสม
ที่มา
เปี่ยมพงศ์ นุ้ยบ้านด่าน.
[online] http://natres.psu.ac.th/Journal/Learn_Organ/index.htm. องค์การแห่งการเรียนรู้ .เข้าถึงเมื่อ 23/06/2558.
พงษ์พันธุ์ พงษ์โสภา. (2542).
จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : พัฒนาการศึกษา.
วารินทร์ สายโอบเอื้อ. (2529). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สยามยูเนี่ยน
พริ้นติ้ง.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น