วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive Method)



 รูปแบบการสอน
รูปแบบที่ 11 การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive  Method)
 http://nappy131.blogspot.com/ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย คือ  กระบวนการที่ผู้สอนจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับกฎ  ทฤษฎี  หลักเกณฑ์  ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ในบทเรียนจากนั้นจึงให้ตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง  หรืออาจให้ผู้เรียนฝึกการนำทฤษฎี  หลักการ  หลักเกณฑ์  กฎหรือข้อสรุปไปใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย   หรืออาจเป็นลักษณะให้ผู้เรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยันทฤษฎี  กฎหรือข้อสรุปเหล่านั้น  การจัดการเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล  ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ  และมีความเข้าใจในกฎเกณฑ์  ทฤษฎี  ข้อสรุปเหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง การสอนแบบนี้อาจกล่าวได้ว่า  เป็นการสอนจากทฤษฎีหรือกฎไปสูตัวอย่างที่เป็นรายละเอียด 
วัตถุประสงค์
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทฤษฎีหลักการหรือกฎเกณฑ์ต่างๆและสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่หลากหลายได้
องค์ประกอบสำคัญ องค์ประกอบสำคัญของการสอนแบบนิรนัยมีดังนี้ คือ
1. ทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปในเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
2. ตัวอย่างสถานการณ์ที่หลากหลาย ที่สามารถนำทฤษฎี กลักการ กฎ หรือข้อสรุป เนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นั้นไปใช้ได้
3. การฝึกนำทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุป ในเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย
4. ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดขึ้นจากการนำหลักการไปใช้ 
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้   การสอนแบบนิรนัยมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
1. ขั้นกำหนดขอบเขตของปัญหา  เป็นการนำเข้าสูบทเรียนโดยการเสนอปัญหาหรือระบุสิ่งที่จะสอนในแง่ของปัญหา  เพื่อยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ  ปัญหาที่จะนำเสนอควรจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของชีวิตและเหมาะสมกับวุฒิ ภาวะของผู้เรียน
2. ขั้นแสดงและอธิบายทฤษฎี  หลักการ  เป็นการนำเอาทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุปที่ต้องการสอนมาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทฤษฎี  หลักการนั้น
3. ขั้นใช้ทฤษฎี  หลักการ  เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะเลือกทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุป  ที่ได้จากการเรียนรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาที่กำหนดไว้ได้
4. ขั้นตรวจสอบและสรุป  เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะตรวจสอบและสรุปทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุปหรือนิยามที่ใช้ว่าถูกต้อง  สมเหตุสมผลหรือไม่  โดยอาจปรึกษาผู้สอน  หรือค้นคว้าจากตำราต่างๆ  หรือจากการทดลอง  ข้อสรุปที่ได้พิสูจน์หรือตรวจสอบว่าเป็นจริง  จึงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง
5. ขั้นฝึกปฏิบัติ  เมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจในทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุป  พอสมควรแล้ว  ผู้สอนเสนอสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนฝึกนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ ใหม่ๆที่หลากหลาย
ข้อดีและข้อจำกัด  ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย มีดังนี้
ข้อดี
1. เป็นวิธีการที่ช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้ง่าย รวดเร็วและไม่ยุ่งยาก
2. ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ไม่มากนัก
3. ฝึกให้ผู้เรียนได้นำเอาทฤษฎี หลักการ  กฎ  ข้อสรุปหรือนิยามไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ
4. ใช้ได้ผลดีในการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปศึกษา และคณิตศาสตร์
5. ฝึกให้ผู้เรียนมีเหตุผลไม่เชื่ออะไรง่ายๆโดยไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง
ข้อจำกัด
1. เป็นวิธีการที่ใช้ได้เฉพาะบางเนื้อหาส่งเสริมคุณค่าในการแสวงหาและคุณค่าทางอารมณ์ค่อนข้างน้อย
2. เป็นวิธีการที่ผู้สอนต้อเตรียมตัวอย่างสถานการณ์ปัญหาที่ดีมีความชัดเจนและหลากหลายให้ผู้เรียนฝึกทำ
3. ผู้เรียนบางส่วนอาจใช้วิธีการท่องจำมากกว่าการทำความเข้าใจอย่างแท้จริง ความจำจึงกลายเป็นเรื่องจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญถ้าผู้เรียนลืมทฤษฎี กฎ สูตร ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้

http://archimedes.utcc.ac.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2 ได้กล่าวไว้ว่า การสอนแบบนิรนัย (Deductive Method) ความหมาย วิธีสอนแบบนี้ เป็นการสอนที่เริ่มจากกฎ หรือ หลักการต่างๆ แล้วให้นักเรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยัน วิธีการสอนแบบนี้ฝึกหัดให้นักเรียนเป็นคนมีเหตุมีผล ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริงเสียก่อนความมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบนิรนัย : ให้นักเรียนรู้จักกฎ สูตร และหลักเกณฑ์ต่างๆ มาช่วยในการแก้ปัญหา ไม่ตัดสินใจในการทำงานอย่างง่ายๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้ทราบข้อเท็จจริงเสียก่อน 
ขั้นตอนในการสอนแบบนิรนัย
1. ขั้นอธิบายปัญหา ระบุสิ่งที่จะสอนในแง่ของปัญหา เพื่อยั่วยุให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ (เช่น เราจะหาพื้นที่ของวงกลมอย่างไร) ปัญหาจะต้องเกี่ยวข้องกับสถานการณ์จริงของชีวิต และเหมาะสมกับวุฒิภาวะของเด็ก
2. ขั้นอธิบายข้อสรุป ได้แก่ การนำเอาข้อสรุปหรือนิยามมากกว่า 1 อย่างมาอธิบาย เพื่อให้นักเรียนได้เลือกใช้ในการแก้ปัญหา
3. ขั้นตกลงใจ เป็นขั้นที่นักเรียนจะเลือกข้อสรุป กฎหรือนิยาม ที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหา
4. ขั้นพิสูจน์ หรืออาจเรียกว่าขั้นตรวจสอบเป็นขั้นที่สรุปกฎ หรือ นิยามว่าเป็นความจริงหรือไม่ โดยการปรึกษาครู ค้นคว้าจากตำราต่างๆ และจากการทดลองข้อสรุปที่ได้พิสูจน์เป็นความจริงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง
ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
วิธีสอนแบบนี้เหมาะสมที่จะใช้สอนเนื้อหาวิชาง่ายๆ หรือหลักเกณฑ์ต่างๆ จะสามารถอธิบายให้นักเรียนเข้าใจความหมายได้ดี และเป็นวิธีที่ง่ายกว่าสอนแบบอุปนัยฝึกให้เป็นคนมีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ โดยไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง
ข้อจำกัด
วิธีสอนแบบนิรนัยที่จะใช้สอนได้เฉพาะบางเนื้อหา ไม่ส่งเสริมคุณค่าในการแสวงหาความรู้และคุณค่าทางอารมณ์เป็นการสอนที่นักเรียนไม่ได้เกิดความคิดรวบยอดด้วยตนเอง เพราะครูกำหนดความคิดรวบยอดให้

http://nadeeya11.blogspot.com/ได้กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive Method) การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัยเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มจากกฎเกณฑ์หรือหลักการ   แล้วให้นักเรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยัน นั่นคือการฝึกทักษะในการคิดอย่างมีเหตุผล มีการพิสูจน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงอันมีที่มาจากหลักการ
ความมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย
1.   เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาโดยยึดกฎ สูตร และหลักเกณฑ์ต่างๆ
2.   เพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจในการทำงาน ด้วยการพิสูจน์ให้ทราบข้อเท็จจริง
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย
1.  ขั้นอธิบายปัญหา เป็นขั้นของการกำหนดปัญหาและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบในการแก้ปัญหา
2.   ขั้นอธิบายกฎหรือหลักการเพื่อการแก้ปัญหา เป็นการนำเอาข้อสรุปกฎเกณฑ์หรือหลักการมาอธิบายให้นักเรียนได้เลือกใช้ในการแก้ปัญหา
3.   ขั้นตัดสินใจ เป็นขั้นที่นักเรียนจะเลือกกฎ หรือหลักการ หรือข้อสรุปมาใช้ในการแก้ปัญหา
4.   ขั้นพิสูจน์/ตรวจสอบ   เป็นขั้นการนำหลักฐานหรือเหตุผลมาพิสูจน์ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามหลักการนั้น ๆ 
ข้อดีของการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย
1.  ใช้ได้กับการจัดการเรียนรู้เนื้อหาวิชาง่าย ๆ  เนื่องจากหลักการหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ จะสามารถอธิบายให้นักเรียนเข้าใจความหมายได้ดี เป็นการอธิบายจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย
2.  เป็นการฝึกทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล และพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้
ข้อสังเกตของการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย
1.  ครูผู้สอนต้องศึกษากฎเกณฑ์ หลักการหรือข้อสรุปต่างๆ อย่างแม่นยำก่อนทำการสอน
2.  ครูเป็นผู้กำหนดความคิดรวบยอดให้นักเรียน จึงไม่ช่วยฝึกทักษะในการคิดหาเหตุผลและแก้ปัญหาด้วยตัวนักเรียนเองได้มากเท่าที่ควร



สรุป 
การสอนแบบนิรนัย (Deductive Method) 
หมายความว่า วิธีสอนแบบนี้ เป็นการสอนที่เริ่มจากกฎ หรือ หลักการต่างๆ แล้วให้นักเรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยัน วิธีการสอนแบบนี้ฝึกให้นักเรียนเป็นคนมีเหตุมีผล ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริงเสียก่อน
ความมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบนิรนัย 
เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทฤษฎีหลักการหรือกฎเกณฑ์ต่างๆและสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาและตัดสินใจในการทำงาน ด้วยการพิสูจน์ให้ทราบข้อเท็จจริงในสถานการณ์ที่หลากหลายได้
องค์ประกอบสำคัญ องค์ประกอบสำคัญของการสอนแบบนิรนัยมีดังนี้ คือ
1. ทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปในเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
2. ตัวอย่างสถานการณ์ที่หลากหลาย ที่สามารถนำทฤษฎี กลักการ กฎ หรือข้อสรุป เนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นั้นไปใช้ได้
3. การฝึกนำทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุป ในเนื้อหาที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย
4. ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดขึ้นจากการนำหลักการไปใช้ 
ขั้นตอนในการสอนแบบนิรนัย การสอนแบบนิรนัยมีขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
1. ขั้นกำหนดขอบเขตของปัญหา  เป็นการนำเข้าสูบทเรียนโดยการเสนอปัญหาหรือระบุสิ่งที่จะสอนในแง่ของปัญหา  เพื่อยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะหาคำตอบ  ปัญหาที่จะนำเสนอควรจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของชีวิตและเหมาะสมกับวุฒิ ภาวะของผู้เรียน
2. ขั้นอธิบายกฎหรือหลักการเพื่อการแก้ปัญหา เป็นการนำเอาข้อสรุปกฎเกณฑ์หรือหลักการมาอธิบายให้นักเรียนได้เลือกใช้ในการแก้ปัญหา
3. ขั้นใช้ทฤษฎี  หลักการ  เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะเลือกทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุป  ที่ได้จากการเรียนรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาที่กำหนดไว้ได้
4. ขั้นตรวจสอบและสรุป  เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะตรวจสอบและสรุปทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุปหรือนิยามที่ใช้ว่าถูกต้อง  สมเหตุสมผลหรือไม่  โดยอาจปรึกษาผู้สอน  หรือค้นคว้าจากตำราต่างๆ  หรือจากการทดลอง  ข้อสรุปที่ได้พิสูจน์หรือตรวจสอบว่าเป็นจริง  จึงจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง
5. ขั้นฝึกปฏิบัติ  เมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจในทฤษฎี  หลักการ  กฎ  ข้อสรุป  พอสมควรแล้ว  ผู้สอนเสนอสถานการณ์ใหม่ให้ผู้เรียนฝึกนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ ใหม่ๆที่หลากหลาย
ข้อดีและข้อจำกัด ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย มีดังนี้
ข้อดี
1. เป็นวิธีการที่ช่วยในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้ง่าย รวดเร็วและไม่ยุ่งยาก
2. ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ไม่มากนัก
3. ฝึกให้ผู้เรียนได้นำเอาทฤษฎี หลักการ  กฎ  ข้อสรุปหรือนิยามไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ
4. ใช้ได้ผลดีในการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปศึกษา และคณิตศาสตร์
5. ฝึกให้ผู้เรียนมีเหตุผลไม่เชื่ออะไรง่ายๆโดยไม่มีการพิสูจน์ให้เห็นจริง
ข้อจำกัด
1. เป็นวิธีการที่ใช้ได้เฉพาะบางเนื้อหาส่งเสริมคุณค่าในการแสวงหาและคุณค่าทางอารมณ์ค่อนข้างน้อย
2. เป็นวิธีการที่ผู้สอนต้อเตรียมตัวอย่างสถานการณ์ปัญหาที่ดีมีความชัดเจนและหลากหลายให้ผู้เรียนฝึกทำ
3. ผู้เรียนบางส่วนอาจใช้วิธีการท่องจำมากกว่าการทำความเข้าใจอย่างแท้จริง ความจำจึงกลายเป็นเรื่องจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญถ้าผู้เรียนลืมทฤษฎี กฎ สูตร ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้



ที่มา
http://nappy131.blogspot.com/. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย. เข้าถึงเมื่อ 21 สิงหาคม 2558.
http://archimedes.utcc.ac.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย. เข้าถึงเมื่อ 21 สิงหาคม 2558.
http://nadeeya11.blogspot.com. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย. เข้าถึงเมื่อ 21 สิงหาคม 2558.




















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น